วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต
INTERNET  อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต : ความหมาย 
            อินเทอร์เน็ต (
Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง  "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก  โดยใช้โปรโตคอล (Protocol )  เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร
โปรโตคอลคืออะไร
           
ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talkโปรโตคอล IPX/SPX
           
ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell ซึ่งทำการพัฒนามาจากตัวโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation ซึ่งโครงสร้างเมื่อทำการเปรียบเทียบกับ OSI Model ดังรูป


ตัวโปรโตคอล IPX/SPXแบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลหลักคือ Internetwork Packet Exchange   ( IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามาตรฐาน OSI Model มีกลไกการส่งผ่านข้อมูลแบบ connectionless,unrerelibleหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูล โดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวร ( host , เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการใดๆในเครือข่าย ) และไม่ต้องการรอสัญญาณยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทาง โดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลตรงข้ามกับโปรโตคอล IPXคือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อนและมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสอบสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง
โปรโตคอล NetBEUI
           
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย
           
เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอล TCP/IP และ NetBUEI
โปรโตคอล AppleTalk
           
จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่องพิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัทผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องไปหาซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
           
โปรโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยเฉพาะขึ้นมา ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้ สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิมเรียกว่าเป็นโปรโตคอล Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring ได้ โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP
           
ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
           
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable)
           
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า
IP Address ( Internet Protocol Address )
   ที่มา 
http://wich246.tripod.com/protocol.htm

อินเทอร์เน็ต : ประวัติ

        อินเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียต ที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้น  โดยออกแบบระบบให้เหมือนร่างแหที่กระจายไปทั่ว  ให้มั่นใจว่าหากถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ เครือข่ายก็จะไม่ถูกตัดขาด ยังมีทางส่งข้อมูลอ้อมไปได้  เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไป  เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลก มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว  มีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอยู่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ ผู้เชื่อมต่อต้องลงทุนอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานจากรัฐ ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Povider) เก็บค่าบริการต่างกันขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อ ความเร็ว เวลาการใช้งาน
ค.ศ.
1973  (พ.ศ.2516)
            มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น
NSFNET (National Science Foundation Network) CSNET ( Computer Science Network)
EUNET (European Unix Network )  เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ เครือข่ายของเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
            ปี พ.ศ.
2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับ อาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
          - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
          - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
          - สายโทรศัพท์ทองแดง
            baud    ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า ยังมอริส - อีมิล โบด็อท (jean - Maurice - Emile Baudot) เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem)  ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพคผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา  นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย  หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP)ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา
            ในปี พ.ศ.
2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น  ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet(Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX  ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
            นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (
Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปัจจุบัน
UUNet
            เป็น
ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเครือข่ายทั่วสหรัฐ ให้บริการ connection ตั้งแต่ 28.8 Kbps ถึง 155 Mbpsและยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลียด้วย รวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง 114 ประเทศ
พ.ศ.
2534   อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ ใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
            การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ.
2538โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย  องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand)  บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand)โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet   เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
            พฤศจิกายน
2544  แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทปัจจุบันมีองค์กรคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช.  ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีเป็นธรรม  ทำให้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย เปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพโดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูก  ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการให้สูงที่สุดและในราคาถูกที่สุดได้
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

            ยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน
            อินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน ผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (
Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชั่วโมง
            การใช้โมเด็มโทรเรียกเข้าศูนย์บริการมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8
kbps เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดงมีคุณสมบัติให้สัญญาณทางไฟฟ้าที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาที
การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (
Dial up connection )
            เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์ และติดต่อผ่านโมเด็ม(
Modem)  เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ ISP (Internet Service Provider)
ส่วนประกอบของการเชือมต่อ
            1.  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (
PC: Personnel computer)
            2.  หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน
            3.  โมเด็ม (
Modem )
            4.  ชั่วโมงอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (
ISP)
โมเด็ม (
Modulator Demodulator : Modem)
            มีหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล จากดิจิทัลให้เป็นอนาลอกและส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังปลายทาง ด้วยความเร็ว 56
Kbps ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าโทรศัพท์ครั้งละ 3 บาทและค่าบริการอินเทอร์เน็ตชั่วโมงละประมาณ 3-12 บาท
ไอเอสพี (
Internet Service Provider : ISP )
            บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ปลายศตวรรษที่ 20
            เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (
Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps ภายใต้ข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก
ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

            พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดงให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps
            DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Lineคือเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดาให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอล ความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้เราสามารถส่งข้อมูล ในขณะเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ได้
เทคโนโลยีในตระกูล
DSL อยู่หลายเทคโนโลยี เช่น
        * HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
        * IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
        * ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
        * RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
        * VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
            ขณะนี้เทคโนโลยี ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเลือกใช้มากที่สุด เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มี ความเร็วสูง และระยะทางที่ทำงานได้ค่อนข้างไกล ซึ่งเหมาะสม ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน ในปัจจุบันมากที่สุด  ในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี VDSL ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 52 Mbps ก็อาจจะถูกนำมาใช้งานมากขึ้น
            ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line คือ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนข่ายสายทองแดง มีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้นๆ
            VDSL ย่อมาจาก Very High Speed Digital Subscriber Line หรือ Very High Bit Rate Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลผ่านสายแบบดิจิตอลที่มีความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม DSL คือ สามารถทำความเร็วได้มากถึงกว่า 50 เม็กกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎี
โดยพื้นที่ให้บริการห่างจากตู้ชุมสายไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จึงจะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด หากระยะห่างออกไป ความเร็วจะแปรผันตามระยะทาง
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออื่นๆ
            นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้
            ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลายในวงการโทรคมนาคมโดยเริ่มจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย  นอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก  และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น
            WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเป็น สิบๆ กิโลเมตร

สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต
            ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน  มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย
บริการบนอินเทอร์เน็ต
World Wide Web
            เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในปี 1989 โดย ทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์จากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรปหรือ  CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยใช้ตัวอักษรและภาพกราฟิก ข้อมูลจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย แสดงผลในรูปของ hypertext links
บริการค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย WWW  (World Wide Web)
            WWW เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ง่ายและสะดวก  ด้วยลักษณะของการแสดงผลในรูปของ Hypertext Links ซึ่งเป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารอื่น ๆ  ได้อย่างสะดวก
            WWW จะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า  หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่างๆ  รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์
            ค.ศ.1991 หลังจากมีระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลก Time  Berners Lee ได้ใช้เทคโนโลยีต่างๆออกแบบ World wild web ขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเชื่อมโยงสารสนเทศจากห้องสมุดต่างๆอย่างกว้างขวางและแพร่หลายในลักษณะของสื่อประสม
โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser )
            โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language) มาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
Microsoft Internet Explorer (IE)
            เป็นเว็บเบราว์เซอร์ ที่กำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ผลิตโดย  บริษัท
Microsoft   มีประสิทธิภาพสูง เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ windows ตั้งแต่ windows 95 เป็นต้นไป
Plawan Browser  
            พัฒนาโดยคนไทย   สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ชั้นแนวหน้าอื่นๆ แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
            โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์ (home page , web page และ web site)
web page        หน้าเอกสารที่เป็นกระดาษแต่ละหน้า
home page     หน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยังเว็บไซต์ใด
Web Site         โฮมเพจและเว็บเพจหลาย ๆ หน้าซึ่งเป็นของหน่วยงานเดียวกัน
            เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server)  คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์  ในรูปแบบของเอกสาร HTML    โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งเอกสาร HTML  ไปแสดงผลในเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้เมื่อมีการเรียกใช้
วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น  e-mail  chat และ  webboard
2. เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information) เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (www)
3. เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์บันเทิง  เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง
4. เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business) เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์  แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต
การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต  มี 3 ระดับดังนี้
1. IP Address (Internet Protocol Address)
2. DNS (Domain Name System)
3. URL (Uniform Resource Locator)
IP Address
            เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งจะเป็นหมายเลขให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เชื่อมโยงถึงได้  แต่หมายเลขจำยาก จึงเทียบเคียงเป็นตัวอักษร
            ในอนาคต อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดรวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะมี
IP Address เป็นของตนเอง และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
Domain Name System คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้ง่ายเนื่องจากการจดจำหมายเลข IP  ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้
            โดเมนเนมระดับสูงสุด  (top level domain) คือส่วนที่อยู่ตำแหน่งขวาสุด  เป็นส่วนที่บอกชื่อประเทศและลักษณะขององค์กร  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
* โดเมนเนมระดับสูงสุดที่บอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน
* โดเมนเนมระดับสูงสุดที่บอกถึงประเภทของ องค์กรเจ้าของโดเมน
โดเมนเนมระดับที่สาม (third level domain)
            เป็นส่วนของโดเมนที่ระบุชื่อขององค์กร เช่น  dpu.ac.th   nectec.or.th  ais.co.th    navy.mil.th เป็นต้น
URL (Uniform Resource Locator)
            เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และโปรโตคอลที่ใช้งาน
URL ย่อมาจาก Uniform Resource Locator  หมายถึงรหัสค้นข้อมูลบนข่ายงานอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการเวิล์ดไวด์เว็บ
Hyper Text Transport Protocol (HTTP) กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์ (เอชทีทีพี) มาตรฐานอินเทอร์เนตที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ โดยการกำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน รวมถึงแฟ้มที่เข้าถึงได้ในกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol : FTP)
            กฎเกณฑ์การส่งไฮเพอร์เท็กซ์ ให้ผู้เขียนเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (hyperlink) ในเอกสารในเว็บได้ เมื่อคลิกแล้ว จุดเชื่อมโยงจะเริ่มกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลซึ่งเข้าถึงและค้นคืนเอกสารให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำสิ่งใด โดยไม่ต้องทราบว่าเอกสารนั้นมาจากที่ ใดหรือเข้าถึงได้อย่างไร
 ภาษา
HTML (Hyper Text Markup Language)  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารแบบไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia document description language)
host
            แม่ข่าย , แม่งาน คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ในอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำงานเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการถ่ายโอนข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้จะมีเลขอยู่ (เรียกว่า IP address)และชื่อเขตเป็นของตนเอง
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
IP Address                   192.168.83.25 
DNS                            dpu.ac.th
URL คือ                     
http://www.dpu.ac.th
วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
*การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ
*การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
*ISDN  (Integrated Services Digital Network)
*ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
*Cable Modem     *Satellite      *Leased Line        
*WiFi                     *WiMax       *Air card
โปรแกรมค้นหา (Search Engine)
โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (
Index  Search Engine)
 โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (
Keyword Search Engine)
 โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (
Meta Search Engine) 
 บัญชีรายชื่อเว็บไซต์(
Web Directory)
โปรแกรมค้นหา (Search Engine)
            เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ  จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้ในฐานข้อมูล เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลหรือเว็บเพจ,เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจ ในรูปแบบเท็กซ์ หรืออื่นๆ เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่างๆ จากนั้นจึงนำเว็บเพจที่อ่านได้มาทำดัชนีเก็บไว้โดยอัตโนมัติ  เว็บไซต์ที่ให้บริการโปรแกรมค้นหาจะถูกเขียนขึ้นให้มีโปรแกรมประเภทโรบอท(Robot) สไปเดอร์(Spider) ครอเลอร์(Crawler) ทำหน้าที่เข้าไปสำรวจในเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำคำสำคัญที่มีในหน้านั้น ๆ มาทำเป็นดัชนี เพื่อส่ง URL ของเว็บนั้น ๆ มาแสดงให้ผู้ใช้ทราบ
โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (Index  Search Engine)
            เป็นโปรแกรมค้นหาที่ใช้โรบอท สไปเดอร์ หรือ ครอเลอร์ เข้าไปสำรวจข้อมูลในส่วนที่ผู้จัดทำเว็บไซต์กำหนดให้เป็นคำค้น จากเอกสาร HTML ในเว็บต่างๆ เพื่อนำคำเหล่านั้นมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่ใช้สำหรับสืบค้น  เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาสารสนเทศด้วยศัพท์ดัชนีที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ตัวอย่างของโปรแกรมค้นหาที่ใช้วิธีค้นหาแบบศัพท์ดัชนี  ได้แก่
  www.lycos.com    www.hotbot.com    เป็นต้น
โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)
            เป็นโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เข้าไปอ่านหน้าของเอกสารของเว็บต่างๆแล้วนำคำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหน้ามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ  เมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้น  โปรแกรมจะค้นคืนสารสนเทศจากคำหรือข้อความที่ตรงกับคำค้นนั้น ๆ  มาแสดงและลิงค์ไปถึงได้ ผู้ใช้สามารถใช้คำ หรือวลี เพื่อใช้เป็นคำค้นได้อิสระโปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ  ได้แก่  www.google.com     www.altavista.com  เป็นต้น
โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine)
            โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ มาแสดงผล ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่  www.dogpile.com    
www.metacrawler.com
ค้นจากบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ (Directory)
            เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่น ๆ มาจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาในเว็บไซต์นั้น ๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คัดเลือกและพิจารณาจัดหมวดหมู่ของเว็บไซต์เหล่านั้น  ข้อดีก็คือ จะทำให้สามารถเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีมารวบรวมไว้ได้
ตัวอย่างของ webที่ให้บริการบัญชีรายชื่อเว็บไซต์ได้แก่   www.yahoo.com     www.looksmart.com   www.sanook.com   
www.hunsa.com

เทคนิคการค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
1. คำที่ใช้ค้นเรียกว่า  คำค้น (KEYWORD) 
2. คำค้นควรให้ตรงประเด็น  หรือ คำใกล้เคียง
3. เลี่ยงการใช้คำพูด  ตัวเลขในการค้น  ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4. การใช้เครื่องหมาย +  และ
            "+" หมายถึง การระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องมีคำนั้นปรากฏอยู่ในหน้าเว็บเพจ
            +เศรษฐกิจ +การเมือง หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "เศรษฐกิจ" และ "การเมือง" อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งสองคำ
            "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น โรงแรม -รีสอร์ท หมายถึง หน้าเว็บเพจนั้นต้องมีคำว่า โรงแรม แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า รีสอร์ท อยู่โดยการใช้งานต้องอยู่ในรูปของ A -B หรือ +A -B โดย A และ B เป็นคำหลักที่ต้องการค้นหา 
ตัวอย่าง +มะม่วง -มะม่วงอกร่อง -มะม่วงน้ำดอกไม้  หมายถึง หน้าเว็บเพจที่พบจะต้องปรากฎคำว่า "มะม่วง" แต่ต้องไม่ปรากฎคำว่า "มะม่วงอกร่อง" และ "มะม่วงน้ำดอกไม้" อยู่ในหน้าเดียวกัน
การค้นหาข้อมูลด้วย
  search engine
เทคนิคการค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (keyword) 
            1. คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย
            2. คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ
            3. คำสำคัญที่มีทั้ง 2 ภาษาปนกัน
     1) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทย ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ  นักคณิตศาสตร์ คำสำคัญอันดับแรก ก็คือ นักคณิตศาสตร์ แต่อาจดูกว้างไป  และผลการค้นหาก็มากเกินไปหลายสิบหน้า  ดังนั้นจึงต้องจำกัดผลการค้นหาให้แคบลงเช่นต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก คำสำคัญที่ใช้ได้แก่   นักคณิตศาสตร์ และคำว่า กรีก จะได้ผลการค้นหาจำนวนน้อยลง  ง่ายที่เราจะเลือกลิงค์ที่ต้องการได้
            ในกรณีที่คำสำคัญนั้นแสดงผลการค้นหาว่าไม่พบข้อมูลที่ต้องการ  ให้ลองเปลี่ยนคำสำคัญใหม่ไปเรื่อยๆ คำสำคัญควรระบุอย่างน้อย 2 คำ จะทำให้ผลการค้นหาแคบลงเท่าที่ต้องการ
     2) คำสำคัญที่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ  นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกเป็นภาษาอังกฤษ คำสำคัญ 2 คำแรก อาจใช้  greek mathematician และถ้าใช้เครื่องหมาย “    ” คร่อมระหว่างคำสำคัญคู่ใดๆผลการค้นหาจะแตกต่างกัน“greek mathematician”
     3) คำสำคัญที่เป็นภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ เช่น ต้องการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง  ไฟฟ้ากระแส  คำสำคัญที่ใช้ได้ เช่น
1)  ไฟฟ้ากระแสตรง  “direct current”
2)  “direct current”  ไฟฟ้า กระแสตรง
3)  “direct current”  เนื้อหา   ฯลฯ
การใช้คำสำคัญ (keyword) เพื่อเจาะจงรูปแบบของไฟล์ ต้องการไฟล์เกี่ยวกับ   กรด – เบส  ในรูปแบบไฟล์ pdf

การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่
  AND  OR  NOT  
วิธีการใช้งาน
  มีดังนี้
            1. AND ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่ติดกับคำว่า AND ทั้งสองคำ   เช่น  “chemistry” AND “atomic theory” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า chemistry และคำว่า atomic theory ทั้ง 2 คำอยู่ในเอกสารเดียวกัน
การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่  AND  OR  NOT  
            2. OR ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ติดกับคำ ว่า OR เช่น  “physics”  OR  “mechanics” หมายความว่าให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำ ว่า  physics  หรือ  mechanics คำใดคำหนึ่งก็ได้
การใช้คำสำคัญในทางตรรกศาสตร์
คำในวิชาตรรกศาสตร์ที่ใช้ได้แก่  AND  OR  NOT  
            3. NOT ใช้เมื่อต้องการให้ผลการค้นหาประกอบด้วยคำสำคัญที่อยู่หน้าคำว่า  NOT แต่ไม่ต้องค้นหาคำที่อยู่หลังคำว่า NOT   เช่น  mathematics  NOT  calculus  หมายความว่า ให้ค้นหาข้อมูลที่มีคำว่า  mathematics  แต่ต้องไม่มีคำว่า calculus  อยู่ด้วย
            บีบประเด็นหัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ  
Computer  และควรค้นหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น  information technology หรือ IT เป็นต้น
            เลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้  ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"

ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลด้วย  search engine
www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือ
ค้นหาเว็บไซต์ (Basic Search)  เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไปที่ยังไม่มีความรู้มากนัก
ค้นหาเว็บไซต์แบบซูเปอรเสิร์ช (Super Search)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลแบบมีเงื่อนไข สำหรับการค้นหาที่มีการเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
ค้นหาเพลง (
Music Search) บริการค้นหาเพลง , เนื้อร้อง จากเว็บเพจต่างๆ โดยสามารถค้นหาได้จากชื่อเพลง ชื่อนักร้อง ชื่ออัลบั้ม หรือ คำร้องจากท่อนใดท่อนหนึ่งก็ได้
ค้นหารูปภาพ (
Image Search) บริการค้นหา ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิก ภาพการ์ตูน
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
(บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต : ยืน ภู่วรวรรณ)
อินทราเน็ต (
INTRANET)
            อินทราเน็ต เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท  ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรอื่น  ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขา หรือจะอยู่คนละภูมิภาคก็สามารถสื่อสารกัน  (
Interfacing)   ได้ เหมือนอินเทอร์เน็ตทั่วไป  ด้วย Function การ Log-in มีระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์    มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว  มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ
            Intranet เป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายในบริษัท  พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้  แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้  ข้อมูลในเว็บไซต์อาจจะบันทึกการทำงาน การขาด หรือลาป่วย ของพนักงาน แต่ละคน ซึ่งสามารถเข้ามาเช็คได้...
            ข้อดีของอินทราเนต ได้แก่การเป็นส่วนตัว (
Privacy) ในระดับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตภายนอกได้  โดยอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกัน
เอ็กซ์ทราเน็ต (
EXTRANET)
            เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (
Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ  ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า   บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกัน
            ระบบเอ็กทราเนตอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและอินเทอร์เน็ตในสื่อสารระหว่างองค์กรซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย  มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน นิยมใช้ในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า(
Alliance) ที่อาศัยข้อมูลร่วมกัน  (Collaboration Commerce;  C-Commerce)  เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า  และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบสนทนาแบบ
Real time
ที่มา  จาก Power Point  อาจารย์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550    
           เป็นกฎหมายไทย ประเภท พระราชบัญญัติ ตราโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลใช้บังคับในอีกสามสิบวันให้หลัง คือ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2550
            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ

(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒  พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด

(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ

(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษามาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนดมาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ที่มา http://www.yenta4.com/law/document.php
ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ทุกคนควรทราบ
มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 50
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดู
?
     เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้
?
     เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
?
     เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา
?
     เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้
?
     เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง
packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan
     หรือ
worm   หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง ?
     เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ
?
     เจอปรับไม่เกิน100,000บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้ว...
     - ทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย ...
     จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท
     - ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม ....
     จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท ถึง 300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น ... จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆในข้อข้างบนได้
?
     เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.โป๊
,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต้น ?
     เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน
?
     เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดน
?
     เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ
     ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน .